วันจันทร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2561

ข่าวเทคโนโลยีประจำสัปดาห์(15)

อาการ "เสพติดโทรศัพท์มือถือ" ปัญหาใหญ่ยุคเทคโนโลยีดิจิทัล!

อาการ "เสพติดโทรศัพท์มือถือ" ปัญหาใหญ่ยุคเทคโนโลยีดิจิทัล!

     ผู้เชี่ยวชาญเตือนว่าในยุคสังคมก้มหน้าขณะนี้ เทคโนโลยีการสื่อสารได้ตามติดตัวเราไปทุกที่ซึ่งทำให้เกิดความผูกพันถึงขั้นการติดโทรศัพท์มือถือ หรืออุปกรณ์อื่นๆนั้น ส่งผลเสียต่อสุขภาพของเรา
     อย่างไรก็ตาม เรื่องของการติดอุปกรณ์มือถืออย่างแยกไม่ออกนี้ จะกล่าวโทษเด็กวัยรุ่นหรือคนยุคเจนเนอเรชั่น Y ฝ่ายเดียวคงไม่ได้ เพราะผลการสำรวจของ Pew Research Center เมื่อไม่นานมานี้ ระบุว่า ขณะที่ราวสองในสามของพ่อแม่ผู้ปกครองบ่นว่า เวลาที่ลูกหลานของตนใช้หรือติดโทรศัพท์มือถือนั้นมีมากเกินไป แต่กว่าครึ่งของเด็กวัยรุ่นก็บอกเช่นกันว่า บ่อยครั้งที่พ่อแม่ดูจะสนใจให้เวลากับโทรศัพท์มากกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวลาที่ตนอยากจะสนทนาหารือกับพ่อแม่เช่นกัน


     <การวิเคราะห์ข่าว>
         เมื่อคนเราเสพติดอุปกรณ์เทคโนโลยีมากจนเกินไป ก็ย่อมส่งผลเสียต่อสุขภาพตนเองอย่างแน่นอน และพ่อแม่ควรเป็นแบบอย่างที่ดีให้ลูก อาจจะแบ่งเวลาใช้โทรศัพท์ ไม่ใช่ใช้โทรศัพท์ตลอดเวลา

วันอาทิตย์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2561

ข่าวเทคโนโลยีประจำสัปดาห์(14)

สตาร์ทอัพอเมริกันพัฒนาหุ่นยนต์สำหรับผู้สูงวัยที่อยู่บ้านตามลำพัง

สตาร์ทอัพอเมริกันพัฒนาหุ่นยนต์สำหรับผู้สูงวัยที่อยู่บ้านตามลำพัง
     ฮอลลี่ หนึ่งในเจ้าหน้าที่ดูแลผู้สูงวัยของบริษัท SenCura ซึ่งทำหน้าที่ไปเยี่ยม โอล์กา โรเบิร์ตสัน อายุ 88 ปีทุกวัน วันละ 3 ชั่วโมง หากฮอลลี่ไม่ได้อยู่ด้วย ก็ยังมีเพื่อนหุ่นยนต์ชื่อรูดี้ (Rudy) ที่สามารถพูดคุยโต้ตอบบทสนทนาและสร้างความบันเทิงใจได้ด้วย 
     นอกจากจะช่วยให้ผู้สูงวัยได้มีกิจกรรมเเล้ว ยังช่วยให้ผู้สูงวัยติดต่อขอความช่วยเหลือฉุกเฉินได้ตลอด 24 ชั่วโมง หุ่นยนต์รูดี้มีความสูงเกินหนึ่งเมตรเพียงเล็กน้อย มีหน้าจอดิจิตัลติดอยู่ที่ลำตัว เพื่อใช้ติดต่อกับครอบครัวเเละผู้ให้การดูแล

     <การวิเคราะห์ข่าว>
         หุ่นยนต์รูดี้ช่วยให้ผู้สูงอายุสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ง่ายขึ้น ช่วยอำนวยความสะดวกในการทำกิจกรรมต่างๆ 


ข่าวเทคโนโลยีประจำสัปดาห์(13)

พัฒนาสร้างคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่สุดในโลก



     แชมป์ใหม่ที่สามารถสร้างคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่สุดในโลก เป็นของนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยมิชิแกน ในสหรัฐอเมริกา คอมพิวเตอร์ขนาดเล็กตัวนี้มีขนาด 0.3 มิลลิเมตร เทียบแล้วเล็กกว่าเมล็ดข้าว ทีมวิจัยเน้นการวัดอุณหภูมิอย่างแม่นยำ เพื่อนำไปช่วยทางการแพทย์โดยเฉพาะการประเมินการรักษาโรคมะเร็ง อย่างไรก็ตาม ยังไม่แน่ใจว่าจะเรียกว่าเป็นคอมพิวเตอร์ได้หรือไม่ เพราะคอมพิวเตอร์โดยปกติทั่วไปเมื่อดับเครื่องถอดปลั๊กโปรแกรมและข้อมูลจะยังอยู่ในนั้น แต่คอมพิวเตอร์จิ๋วนี้เมื่อปิดเครื่อง ก็จะสูญเสียโปรแกรมและข้อมูลทั้งหมดจะหายไป ซึ่งยังต้องพัฒนาต่อให้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น

     <การวิเคราะห์ข่าว>
         คอมพิวเตอร์ขนาดจิ๋วนี้พกพาได้สะดวกมากขึ้น และมีประโยชน์ในด้านต่างๆ