วันอังคารที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2561

ข่าวเทคโนโลยีประจำสัปดาห์(2)

'สมาร์ทโฟน' เป็นเทคโนโลยีที่สร้างความใกล้ชิดให้กับผู้คน หรือทำลายตัวตนของมนุษย์จนหมดสิ้น?

3

     ตั้งแต่เข้าสู่ยุคสมาร์ทโฟน วัยรุ่นหลายๆคนทั่วโลกเป็นโรคซึมเศร้า และมีความคิดที่จะฆ่าตัวตายอยู่บ่อยครั้ง โดย Twenge ตั้งกลุ่มตัวอย่างวัยรุ่นที่เกิดในช่วงปี ค.ศ. 1995 - 2012 ผู้คนที่เกิดในช่วงนี้จะเป็นรุ่นที่เติบโตมากับเทคโนโลยีในยุคที่พัฒนาแล้ว ซึ่งมีแนวโน้มจะเป็นโรคซึมเศร้าโดยมีตัวแปรสำคัญมาจากการใช้งานสมาร์ทโฟน
     Twenge ตั้งข้อสังเกตว่าปัญหาสำคัญอย่างหนึ่งจากการที่คนเป็นโรคซึมเศร้า และรู้สึกไม่มีความสุขกับการใช้ชีวิตนอกโลกออนไลน์ คือ การใช้งานสมาร์ทโฟนเพิ่มมากขึ้น หรือใช้งานตลอดทั้งวัน ทำให้รู้สึกว่าการมีปฏิสัมพันธ์กันผ่านทางโลกออนไลน์มีค่ามากกว่าการคุยกันในชีวิตจริง และเริ่มห่างเหินจากตัวตนในโลกแห่งความจริงมากขึ้น

   <การวิเคราะห์ข่าว>
     คนส่วนใหญ่มักจะใช้โทรศัพท์ตลอดเวลา ซึ่งจะทำให้การมีมนุษยสัมพันธ์ลดลง เราควรจะลดการใช้อุปกรณ์เทคโนโลยี แล้วหันมาคุยกันเองมากขึ้น ส่วนหนึ่งเพื่อสุขภาพ และอีกส่วนหนึ่งเพื่อป้องกันโรคซึมเศร้า


วันจันทร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2561

ข่าวเทคโนโลยีประจำสัปดาห์(1)

เล่นมือถือก่อนนอน เสี่ยงผลกระทบต่อสุขภาพเพียบ 


     การเล่นโทรศัพท์ก่อนนอน เป็นกิจกรรมที่หลายคนชอบทำ แต่หน้าจอโทรศัพท์มีแสงสีฟ้าที่ส่งผลกระทบในการผลิตสารเมลาโทนิน ซึ่งเป็นสารที่ควบคุมการหลับและการตื่น ดังนั้นการเล่นโทรศัพท์ก่อนนอนมากกว่า 2 ชั่วโมงจะส่งผลให้เกิดการนอนไม่หลับหรือหลับไม่สนิทได้ และยังส่งผลกระทบต่อสายตาอีกด้วย สิ่งที่อาจตามมาหลังจากพักผ่อนไม่เพียงพอ เช่น ร่างกายอ่อนล้าในตอนกลางวัน ระบบความจำมีปัญหา ระบบเผาผลาญของร่างกายทำงานไม่เต็มที่ เป็นต้น

  <การวิเคราะห์ข่าว> 
     การเล่นโทรศัพท์ก่อนนอนส่งผลเสียต่อร่างกายหลายอย่าง ทั้งเรื่องสายตา ความจำ และสุขภาพ ดังนั้น ก่อนจะนอนจึงไม่ควรเล่นโทรศัพท์